
ก่อนที่จะไปถึงเรื่องของผลิตภัณฑ์ไวท์เทนนิ่งและการเข้าใจกลไกในการทำงานของมันได้ เราควรจะทำความเข้าใจกับเรื่องพื้นฐานเสียก่อนว่า สีผิวของคนเรานั้นแตกต่างกันเพราะเหตุใด การผลิตเม็ดสีเมลานินมีกระบวนการอย่างไรบ้าง ทำไมสีผิวของคนเราถึงต่างกัน? Melanin นั้นคือเม็ดสีที่อยู่ทั้งในผิวหนัง ดวงตา เส้นผม เมลานินแบ่งออกเป็นสองชนิดได้แก่Pheomelanins ซึ่งมีสีแดง/เหลือง/ส้ม และ Eumelanin ที่เป็นสีน้ำตาลเข้ม สัดส่วนของเม็ดสีสองชนิดนี้ที่แตกต่างกันเป็นตัวกำหนดสีผิวของคนเราว่าจะเป็นผิวสีเข้มหรือผิวสีอ่อน ผิวสีเข้มคือมีปริมาณEumelanin มากกว่า Pheomelanins ส่วนผิวสีอ่อนก็แปลว่ามีปริมาณ Pheomelanins มากกว่าEumelanin นั่นเอง


ซึ่งหนึ่งในเปปไทด์ที่ค้นพบว่ามีส่วนสำคัญกับการผลิตเมนานินอย่างมากคือ α-MSH (α-Melanocyte Stimulating Hormone) ที่จะเข้าไปจับกับตัวรับสัญญาณ MC1R ( melanocortin receptor 1 ) ที่ด้านนอกของเซลล์ "เมลาโนไซด์" (Melanocyte) ก่อให้เกิดกระบวนการส่งสัญญาณไปยังนิวเคลียสของเซลล์ "เมลาโนไซด์" เพื่อกระตุ้นยีนส์ที่เกี่ยวข้องกับเอนไซม์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตเมลานินอย่างเอนไซม์ Tyrosinase กับ TRP-1 และ TRP-2 และผลิตถุงเม็ดสีหรือ ถุง Melanosome ที่ซึ่งกระบวนการผลิตเม็ดสีที่แท้จริงจะเริ่มขึ้น 2. กระบวนการผลิตเมลานิน (Melanogenesis) เกิดขึ้นภายใน "ถุงเมลาโนโซม" (Melanosome) ที่สร้างขึ้นภายในเซลล์ "เมลาโนไซด์" (Melanocyte) ภายในถุงเมลาโนโซมนี้จะมีกระบวนการทางเอนไซม์เกิดขึ้นมากมายโดยมีสารตั้งต้นคือ L-Tyrosine (ที่เปลี่ยนมาจากกรดอะมิโน L-Phenylalinine อีกที) ซึ่งเอนไซม์ Tyrosinase จะทำการเปลี่ยน L-Tyrosine ให้เป็น L-dihydroxyphenylalanine (L-DOPA) และเปลี่ยนอีกครั้งเป็น L-DOPAquinone (จากรูปภาพจะเห็นได้ง่าย ๆ ว่าเอนไซม์ Tyrosinase เป็นจุดเปลี่ยนแรก ๆ ของกระบวนการ Melanogenesis ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่สารไวท์เทนนิ่งส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การขัดขวางการทำงานของเอนไซม์ชนิดนี้)
เมื่อถึงขั้นตอนนี้ L-DOPAquinone สามารถเปลี่ยนเป็นเม็ดสีได้สองรูปแบบ คือ Pheomelanins ซึ่งมีสีแดง/เหลือง/ส้ม และ Eumelanin ที่เป็นสีน้ำตาลเข้ม หากไม่มีตัวแปรอื่นมาเกี่ยวข้อง เจ้า L-DOPAquinone จะเปลี่ยนไปเป็น DOPAchrome และจากจุดนี้ก็ยังแตกไปได้อีกสองทางว่าจะเปลี่ยนแปลงไปด้วยตัวเองตามธรรมชาติหรือผ่านกระบวนการทางเอนไซม์ TRP-2 และ TRP-1 จนเปลี่ยนเป็น 5,6-Dihydroxyindole-2-Carboxylic Acid (DHICA) และแปลงเป็น Eumelanin ตามลำดับ (TRP ย่อมาจาก Tyrosinase-Related Proteins) ซึ่งปัจจุบันนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเจ้า TRP-1 และ TRP-2 นั้นมีบทบาทสำคัญอย่างไร แต่เห็นว่า Eumelanin ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติกับแปลงเปลี่ยนทางเอนไซม์นั้นจะมีสีและ solubility ที่ต่างกันเล็กน้อย( ซึ่งตรงนี้แหล่ะที่น่าสนใจ เพราะปกติแล้ว Eumelaninจะเป็น insoluble polymer คงต้องรอคำตอบจากการศึกษาในอนาคตต่อไป)
ในกรณีที่มีปัจจัยอื่นอย่าง กรดอะมิโน Cysteine ที่แทรกผ่านเยื่อหุ้มของถุง Melanosome เข้ามา ก็จะเปลี่ยน L-DOPAquinone ไปเป็น Cysteinyl-DOPA และเปลี่ยนไปเป็น Pheomelanins ซึ่งมีสีแดง/เหลือง/ส้ม ต่อไป สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือปริมาณ Reduced Glutathione (GSH) นั้นมีความสัมพันธ์กับสัดส่วนในการผลิต Eumelanin และ Pheomelanins หากมี Reduced Glutathione (GSH) เยอะก็จะมีการผลิตEumelanin ที่เป็นสีน้ำตาลน้อยลง และผลิต Pheomelanins ที่มีสีเหลือง/แดง มากขึ้น นี่เป็นที่มาว่าทำไม Glutathione จึงทำให้สีผิวขาวขึ้นได้จนเกิดเป็นกระแสมากมาย (แต่อย่างที่บอกไปว่าการฉีดนั้นเป็นอันตรายในระยะยาว และการกิน Glutathione เข้าไปโดยตรงไม่สามารถไปเพิ่ม Glutathione ในระบบร่างกายได้) 3. การส่งผ่านเม็ดสีไปยังเซลล์เคราติโนไซด์ (Melanosome Transfer) หลังจากกระบวนการผลิตเม็ดสีเมลานินเกิดขึ้นภายในถุง Melanosome แล้ว เจ้าถุงที่อุดมไปด้วยเม็ดสีนี้ก็จะเดินทางผ่านแขนของเซลล์ Melanocyte ที่ยืดยาวเป็นปลาหมึกไปยังเซลล์ผิว (Keratinocyte) และแทรกตัวเข้าไปปล่อยเม็ดสีทำให้เซลล์ผิวของเรามีสีคล้ำขึ้น ทั้งหมดนี้คือกระบวนการผลิตเม็ดสีผิว ซึ่งถ้ามีการกระตุ้นที่มากกว่าปกติก็จะทำให้ผิวของเราเป็นสีคล้ำขึ้น (Tanning) แต่ในกรณีที่ที่เจ้าเซลล์ "เมลาโนไซด์" (Melanocyte) เกิดผีบ้าเข้าสิงจนสั่งให้ผลิตเม็ดสีมากผิดปกติ (Hyperpigmentation) ก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่าจุดด่างดำ กระ ฝ้า นั่นเอง ซึ่งปัญหาผิวคล้ำขึ้น (Tanning) หรือ จุดด่างดำ กระ ฝ้า (Hyperpigmentation) ต่างก็ใช้สารไวท์เทนนิ่งที่ช่วยลดการผลิตเมลานินเหมือนกันจ้า
การดูแลผิวเป็นสิ่งสำคัญ ที่สาวๆต้อองรู้ ผิวแห้ง แตก คลิ๊ก > https://bit.ly/2z7MaXV และ https://bit.ly/2UeA86q
ตอบลบ